คุณสมบัติของพื้นลดแรงกระแทกSCG พื้นสำหรับผู้สูงอายุและเด็กเล็ก
- พื้นลดแรงกระแทก วัสดุทำจากPVC ประกอบด้วยชั้นโฟม(Installation Comfort) ช่วยลดแรงกระแทกจากการสัมผัสพื้น ช่วยลดแรงกระแทกจากการสัมผัสของผู้สูงอายุ
- พื้นลดแรงกระแทกมีความสวยงามด้วยรูปแบบลายไม้ วัสดุผิวหน้าเป็นชั้นPolyurethane ป้องกันรอยขีดข่วน กันน้ำและความชื้นได้100% ทำความสะอาดได้ง่าย
- พื้นลดแรงกระแทกมีความหนา 3 มิล ขนาดแผ่นใหญ่เพื่อลดรอยต่อระหว่างแผ่นป้องกันการสะสมของเชื้อโรคและฝุ่น พื้นลดแรงกระแทกมีขนาด 2*10เมตรและ2*30เมตร
- การติดตั้งพื้นพื้นลดแรงกระแทกเป็นการติดตั้งแบบระบบปูกาวโดยใช้กาวอะคริลิคในการติดเท่านั้น พื้นเดิมต้องเป็นพื้นซิเมนต์ขัดมันหรือพื้นกระเบื้อง พื้นก่อนติดตั้งต้องมีความแข็งแรงและมีความชื้นต่ำ(ค่าความชื้นไม่เกิน13%) รอยต่อของพื้นลดแรงกระแทกใช้การประสานด้วยน้ำยาเฉพาะ(Cold Welding)
- พื้นลดแรงกระแทก(Soft Floor หรือ Absorption Floor) ราคารวมติดตั้ง 880บาทต่อตร.ม. รวมตรวจพื้นที่หน้างานและแนะนำการเตรียมพื้นก่อนติดตั้ง
ข้อควรรู้ก่อนการติดตั้งพื้นลดแรงกระแทก การตรวจสอบพื้นก่อนการติดตั้งพื้นลดแรงกระแทก พื้นลดแรงกระแทกติดตั้งด้วยระบบปูกาวทับพื้นซิเมนต์ขัดมันหรือพื้นเดิม การตรวจสอบพื้นก่อนการติดตั้งเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้พื้นสวยงามและมีระยะการใช้งานที่ยาวนาน
การเตรียมพื้นก่อนติดตั้งพื้นลดแรงกระแทกผู้สูงอายุ แบ่งตามชนิดพื้นชั้นล่างที่ติดตั้งได้ดังนี้
1. ติดตั้งพื้นลดแรงกระแทกทับพื้นซิเมนต์ขัดมันที่เป็นพื้นใหม่ ต้องทำการตรวจสอบ
1.1 ตรวจสอบความชื้นก่อนติดตั้ง ค่าความชื้นของพื้นก่อนติดตั้งต้องมีความชื้นไม่เกิน13% จากค่าผลทดสอบเครื่องวัดความชื้น
1.2 ตรวจสอบระดับก่อนติดตั้ง ทำการตรวจสอบโดยเครื่องวัดระดับเลเซอร์หรือไม้สามเหลี่ยมวัดระดับ พื้นก่อนติดตั้งต้องมีระดับความเรียบสม่ำเสมอ การปูพื้นลดแรงกระแทกเป็นการปูพื้นด้วยระบบปูกาวทับพื้นเดิม กรณีพื้นไม่ได้ระดับและไม่เรียบสม่ำเสมอ ทำให้การมองเห็นพื้นลดแรงกระแทกหลังการติดตั้งมองเห็นเป็นคลื่นได้ โดยเฉพาะเวลาที่มีแสงมากระทบ
1.3 ตรวจสอบความแข็งแรงของผิวหน้าก่อนการติดตั้ง พื้นเดิมก่อนการติดตั้งพื้นลดแรงกระแทกต้องมีความแข็งแรง เป็นพื้นซิเมนต์ขัดมันเรียบ ไม่มีการหลุดร่อนของผิวหน้าหรือมีละอองฝุ่นจากผิวหน้า เพื่อให้การยึดติดระหว่างพื้นลดแรงกระแทกและพื้นซิเมนต์ขัดมันยึดติดได้แน่น ไม่หลุดร่อนหลังการใช้งาน
2. ติดตั้งพื้นลดแรงกระแทกทับพื้นซิเมนต์ขัดมันที่เป็นพื้นเดิม ทำการตรวจสอบเหมือนข้อ1 เพิ่มเติมคือกรณีกรณีพื้นซิเมนต์ขัดมันเดิมไม่ได้ระดับ ต้องการทำการปรับระดับใหม่โดยการเทปรับระดับและขัดมัน โดยมีข้อควรระวังคือการประสานระหว่างพื้นเทปรับระดับใหม่และพื้นเดิมต้องมีความแข็งแรงและประสานกันได้สนิท100% อีกวิธีการการปรับระดับด้วยการรองพื้นด้วยสมาร์ทบอร์ดหรือวีว่าบอร์ดก่อนการติดตั้งพื้นลดแรงกระแทก
3. ติดตั้งพื้นลดแรงกระแทกกับพื้นปูนSelf Leveling กรณีพื้นซิเมนต์เดิมไม่ได้ระดับและต้องการให้พื้นลดแรงกระแทกมีความเรียบสม่ำเสมอ100% สามารถเลือกใช้วิธีการติดตั้งพื้นลดแรงกระแทกทับพื้นSelf Levelingได้ โดยพื้น Self Leveling เป็นการใช้ซิเมนต์ปรับระดับแบบไหลตัวง่าย Self Leveling Mortar เทปรับระดับบนพื้นซิเมนต์ขัดหยาบ ซึ่ง Self Leveling Mortar จะไหลปรับระดับด้วยตัวเองด้วยคุณสมบัติพิเศษ ทำให้พื้นได้ระดับ100% ปรับระดับได้ตวามความหนาที่ต้องการ ความหนาปรับระดับของพื้น Self Leveling ที่ปรับได้ขั้นต่ำ 3 มิลลิเมตร กรณีต่ำกว่าพื้นมีโอกาสแตกร้าวเนื่องจากปรับระดับบางเกินไป ข้อจำกัดคือพื้น Self Leveling มีค่าใช้จ่ายสูง ประมาณ 300-400 บาทต่อตารางเมตรขึ้นไป ขึ้นกับความหนา
4. ติดตั้งพื้นลดแรงกระแทกทับพื้นกระเบื้องเดิม พื้นกระเบื้องส่วนใหญ่จะได้ระดับเพราะมีการทำระดับก่อนการติดตั้งพื้นกระเบื้อง และพื้นกระเบื้องมีค่าการป้องกันความชื้นสูง การตรวจสอบความชื้นและระดับพื้นกระเบื้องก่อนการติดตั้งจะทำได้ง่ายกว่าพื้นซิเมนต์ขัดมัน ควรเก็บรอยต่อแผ่นกระเบื้องเดิมด้วยปูนกาวหรือฟุตตี้ที่มีความแข็งแรงสูง เพื่อให้พื้นลดแรงกระแทกหลังติดตั้งเรียบสม่ำเสมอ มองไม่เห็นรอยต่อระหว่างแผ่นกระเบื้อง
วิธีการติดตั้งพื้นลดแรงกระแทกSCGพื้นสำหรับผู้สูงอายุ- กำหนดพื้นที่ติดตั้งพื้นลดแรงกระแทก ขอบเขตพื้นที่ แนวการจบงาน
- ตรวจสอบสภาพความพร้อมของงานที่เกี่ยวข้องว่าแล้วเสร็จหรือไม่ โดยให้งานปุพื้นลดแรงกระแทกเป็นลำดับงานสุดท้าย ตรวจสอบระดับความสูงของใต้บานประตูว่ามีความสูงช่องแสงเพียงพอกับระดับความสูงของพื้นลดแรงกระแทกหลังติดตั้งหรือไม่
- ตรวจสอบสภาพพื้นผิว ระดับพื้นและความชื้นของพื้นชั้นล่าง ตามขั้นตอนวิธีการเตรียมพื้นก่อนติดตั้ง
- ทำการทาน้ำยากันความชื้นเพื่อป้องกันความชื้นเข้ามาที่พื้นชั้นล่างและข้างผนัง ทำให้ความชื้นดันตัวแผ่นขึ้นมาเป็นโพรงขึ้นได้ และทำให้กาวไม่ยึดติด
- ทำการคลายแผ่นพื้นลดแรงกระแทกให้แผ่นพื้นคลายตัวล่วงหน้าประมาณ 24 ชั่วโมง เพื่อป้องกันไม่ให้พื้นเป็นคลื่นตอนติดตั้ง
- กำหนดจุดเริ่มจากกลางห้องหรือผนังด้านใดด้านหนึ่ง ตีเส้นแนวรอยต่อโดยเผื่อขอบรอยต่อที่ซ้อนทับกันประมาณ 5 mm ตีเส้นแนวแผ่นจนครบเพื่อเป็นแนวแผ่น สำหรับตรวจสอบแนวแผ่นพื้นลดแรงกระแทกให้ตรงตามกำหนดไม่เอียง
- ตัดแผ่นพื้นด้วยคัตเตอร์และทำการทดลองจัดวางพื้นลดแรงกระแทกก่อนทำการปูจริง
- ทำการพับครึ่งหลังของแผ่นที่ต้องการจะติดตั้งตามแนวยาว ทากาวอะคริลิคหรือกาวขาวให้ทั่วสม่ำเสมอด้วยเกรียงหวี 2-3 มิลลิเมตร ทิ้งไว้ประมาณ 10-15 นาที จนกาวเริ่มใส
- วางแผ่นพื้นลดแรงกระแทกที่พับครึ่งลงบนกาวที่ทาทิ้งไว้ จากนั้นทำการไล่ฟองอากาศให้พื้นลดแรงกระแทกเรียบทับสนิทกับพื้นชั้นล่าง
- พับครึ่งส่วนที่เหลือและทำการตามขั้นตอนเหมือนการติดตั้งแผ่นครึ่งแผ่นที่หนึ่ง
- หลังติดตั้งแผ่นที่หนึ่งแล้วเสร็จ ทำการวางแผ่นที่สองโดยดำเนินการตามขึ้นตอนเหมือนแผ่นที่หนึ่ง แนวการต่อแผ่นให้มีระยะซ้อนทับกันประมาณ 3-5 มิลลิเมตร ตามลายรอยต่อไม้ขอบแผ่น ใช้ฟุตเหล็กทาบตัดด้วยคัตเตอร์ให้เป็นแนวตรง ดึงเศษที่เหลือออกกรีดรอยต่อให้เรียบ ห้ามใช้การต่อชนขอบแผ่นเพราะแผ่นจะต่อชนไม่เสมอกันตลอดแนว
- กรณีต่อแผ่นที่สองแนวห้วท้ายเพื่อความสวยงามควรนำแผ่นที่สองหมุน 180 องศาชนกับปลายแผ่นที่หนึ่ง เพื่อให้ลายไม้ของแผ่นเริ่มที่สองเป็นแนวลายไม้เดียวกับปลายแผ่นของแผ่นที่หนึ่ง
- ทำการเชื่อมแผ่นด้วยกาว Cold Welding โดยติดกระดาษกาวทับรอยต่อแผ่นและกรีดด้วยสันคัตเตอร์ตามแนวรอยต่อ ทากาวCold Weldingตามแนวรอยต่อ กดทับด้วยลูกกลิ้งที่มีน้ำหนักสม่ำเสมอ หลังจากนั้นดึงกระดาษกาวออก ทิ้งไว้ให้แห้งประมาณ30นาที
- ทำการติดขอบผนังพื้นลดแรงกระแทกด้วยบัวPVCหรือบัวยางเพื่อความสวยงาม
- กรณีปูพื้นลดแรงกระแทกชนหน้าห้องน้ำที่มีความชื้นสูงควรใช้ Sealant ทาบริเวณขอบระหว่างพื้นก่อนติดตัวจบเพื่อป้องกันความชื้นเข้าบริเวณขอบแผ่นแนวรอยต่อพื้น
ทราบข้อแนะนำของการเตรียมพื้นก่อนการติดตั้งในแต่ละชนิด เพื่อให้พื้นออกมาสวยงามตอบโจทย์ทั้งด้านการใข้งานและความสวยงาม
ชมแบบผลงานพื้นห้องนอน พื้นห้องทำงาน พื้นห้องนั่งเล่น สำหรับพื้นใหม่ และพื้นรีโนเวท คลิก
Inspire By FloorD