เปลี่ยนพื้นห้องเดิมเป็นพื้นสวยธรรมชาติด้วย พื้นไม้เอ็นจิเนียร์ผิวหน้าไม้จริงโอ๊คทำสีไม้แดง +ฟรีติดตั้ง+โฟมรองพื้นปรับระดับ+ตรวจพื้นก่อนติดตั้ง
หมวดหมู่ : พื้นไม้เอ็นจิเนียร์ , 
Share
ข้อดีของพื้นไม้เอ็นจิเนียร์
วิธีการเตรียมพื้นชั้นล่างก่อนติดตั้งพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ พื้นก่อนติดตั้งแบ่งตามประเภทพื้นได้ 4 ชนิด
1. การติดตั้งพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ทับพื้นซิเมนต์ขัดหยาบและพื้นซิเมนต์ขัดมันที่เป็นพื้นใหม่ กรณีปูพื้นไม้เอ็นจิเนียร์แบบบนโฟม พื้นไม้เอ็นจิเนียร์สามารถติดตั้งบนพื้นซิเมนต์ขัดหยาบได้โดยไม่ต้องขัดมัน สำหรับการปูกรณีปูพื้นไม้เอ็นจิเนียร์แบบยึดกาวต้องปูบนพื้นซิเมนต์ขัดมัน ทั้ง2แบบต้องทำการตรวจสอบ 3 ส่วนคือ
1.1 ตรวจสอบความชื้นก่อนติดตั้ง ค่าความชื้นของพื้นก่อนติดตั้งต้องมีความชื้นไม่เกิน5% จากค่าผลทดสอบเครื่องวัดความชื้น
1.2 ตรวจสอบระดับก่อนติดตั้ง ทำการตรวจสอบโดยเครื่องวัดระดับเลเซอร์หรือไม้สามเหลี่ยมวัดระดับ พื้นก่อนติดตั้งพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ต้องมีระดับความเรียบสม่ำเสมอ
1.3 ตรวจสอบความแข็งแรงของผิวหน้าก่อนการติดตั้ง พื้นเดิมก่อนการติดตั้งพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ต้องมีความแข็งแรง เป็นพื้นซิเมนต์ขัดหยาบหรือขัดมันเรียบแล้วแต่วิธีการปู ไม่มีการหลุดร่อนของผิวหน้าหรือมีละอองฝุ่นจากผิวหน้า เพื่อให้การยึดติดระหว่างพื้นไม้เอ็นจิเนียร์และพื้นซิเมนต์ยึดติดได้แน่น ไม่หลุดร่อนและให้ตัวหลังการใช้งาน
2. การติดตั้งพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ทับพื้นซิเมนต์ขัดมันหรือขัดหยาบที่เป็นพื้นเดิม
ทำการตรวจสอบเหมือนข้อ1 เพิ่มเติมคือกรณีกรณีพื้นซิเมนต์เดิมไม่ได้ระดับ ต้องการทำการปรับระดับใหม่โดยการเทปรับระดับ โดยมีข้อควรระวังคือการประสานระหว่างพื้นเทปรับระดับใหม่และพื้นเดิมต้องมีความแข็งแรงและประสานกันได้สนิท100% อีกวิธีการการปรับระดับด้วยการรองพื้นด้วยสมาร์ทบอร์ดหรือวีว่าบอร์ดก่อนการติดตั้งพื้นไม้เอ็นจิเนียร์
3. การติดตั้งพื้นไม้เอ็นจิเนียร์กับพื้นซิเมนต์ใหม่ และทำการปรับระดับด้วยซิเมนต์ Self Leveling
กรณีพื้นซิเมนต์เดิมไม่ได้ระดับและต้องการให้พื้นไม้เอ็นจิเนียร์มีความเรียบสม่ำเสมอ100% สามารถเลือกใช้วิธีการติดตั้งพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ทับพื้นSelf Levelingได้ โดยพื้น Self Leveling เป็นการใช้ซิเมนต์ปรับระดับแบบไหลตัวง่าย Self Leveling Mortar เทปรับระดับบนพื้นซิเมนต์ขัดหยาบ ซึ่ง Self Leveling Mortar จะไหลปรับระดับด้วยตัวเองด้วยคุณสมบัติพิเศษ ทำให้พื้นได้ระดับ100% ปรับระดับได้ตวามความหนาที่ต้องการ ความหนาปรับระดับของพื้น Self Leveling ที่ปรับได้ขั้นต่ำ 3 มิลลิเมตร กรณีต่ำกว่าพื้นมีโอกาสแตกร้าวเนื่องจากปรับระดับบางเกินไป ข้อจำกัดคือพื้น Self Leveling มีค่าใช้จ่ายสูง ประมาณ 350 บาทต่อตารางเมตรขึ้นไป ขึ้นกับความหนา
4. การติดตั้งพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ทับพื้นกระเบื้องที่เป็นพื้นเดิม พื้นกระเบื้องส่วนใหญ่จะได้ระดับเพราะมีการทำระดับก่อนการติดตั้งพื้นกระเบื้อง และพื้นกระเบื้องมีค่าการป้องกันความชื้นสูง การตรวจสอบความชื้นและระดับพื้นกระเบื้องก่อนการติดตั้งจะทำได้ง่ายกว่าพื้นซิเมนต์ขัดมัน ควรเก็บรอยต่อแผ่นกระเบื้องเดิมด้วยปูนกาวหรือฟุตตี้ที่มีความแข็งแรงสูง เพื่อให้พื้นไม้เอ็นจิเนียร์หลังติดตั้งไม่มีการยุบตัวเมื่อสัมผัส
การติดตั้งพื้นไม้เอ็นจิเนียร์มี 2 วิธี
วิธีการติดตั้งพื้นไม้เอ็นจิเนียร์แบบปูรองโฟม
1. หลังการเตรียมพื้นเรียบร้อย ให้ทำการปูแผ่นโฟมรองพื้นปรับระดับความหนา 2 มิล(PE Foam) เพื่อช่วยปรับระดับของพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ให้เรียบสม่ำเสมอ และช่วยลดเสียงของพื้นไม้เอ็นจิเนียร์กระทบกับพื้นซิเมนตชั้นล่าง นอกจากนั้นการรองโฟมปรับระดับจะช่วยให้สัมผัสของพื้นไม้เอ็นจิเนียร์นุ่มสบายเท้าขณะเดิน การวางโฟมรองปรับระดับให้ด้านที่มีพลาสติกอยู่ด้านล่างเพื่อป้องกันความชื้นจากพื้นซิเมนต์ขึ้นมาบนพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ มีผลให้พื้นไม้เอ็นจิเนียร์ขึ้นตะเข็บสันตรงรอยต่อระหว่างแผ่นพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ ทำการปิดรอยต่อของแผ่นโฟมปรับระดับด้วยเทปกาว
2. ทำการวางลิ่มไม้หนา 12-15 มิลลิเมตร ที่ริมผนังทุกด้านถ้าไม่มีอาจใช้เศษพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ก็ได้ โดยลิ่มไม้นี้จะใช้กั้นระหว่างพื้นไม้เอ็นจิเนียร์กับผนัง เพื่อเป็นช่องว่างไม่ให้พื้นไม้เอ็นจิเนียร์ขยายตัวไม่ให้ไปชนผนัง กรณีพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ขยายตัวไปชนผนังทำให้พื้นไม้เอ็นจิเนียร์โก่งตัวเดินจะรู้สึกยวบเท้า
3. กำหนดรูปแบบและทิศทางการปูพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ โดยส่วนใหญ่จะกำหนดทิศทางการปูพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ให้เป็นแนวขนานประตู
4. การขึ้นแผ่นพื้นไม้เอ็นจิเนียร์แผ่นแรกในการติดตั้งตามทิศทางที่วางไว้ การติดตั้งพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ในบริเวณเฉพาะภายในห้อง ให้เริ่มติดตั้งพื้นไม้เอ็นจิเนียร์แผ่นแรกจากแนวประตูเป็นลำดับแรก ทำการตัดพื้นไม้เอ็นจิเนียร์เข้าระหว่างบังใบประตู โดยให้ขอบของพื้นไม้เอ็นจิเนียร์อยู่ตรงบังใบ เพื่อให้แผ่นพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ตรงประตูเป็นแผ่นเต็มไร้การต่อ พื้นไม้เอ็นจิเนียร์จะมีความแข็งแรงและความสวยงาม สำหรับการติดตั้งพื้นไม้เอ็นจิเนียร์สำหรับพื้นชั้นสอง ให้เริ่มปูพื้นพื้นไม้เอ็นจิเนียร์แผ่นแรกที่แนวบันไดติดกับลูกตั้งขั้นสุดท้าย โดยเว้นระยะห่างจากแนวลูกตั้งประมาณ 2-3 เซนติเมตรสำหรับติดตั้งตัวจบจมูกบันได
5. ทำการปูพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ตามทิศทางที่กำหนดไว้ เริ่มปูจากซ้ายไปขวาจนถึงผนังที่ระดับลิ่ม ระวังอย่าปูพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ชิดขอบผนังเพราะจะไม่มีช่องว่างให้พื้นไม้เอ็นจิเนียร์ขยายตัว
6. การต่อแผ่นพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ระบบคลิกล็อค โดยการวางแผ่นไม้ลามิเนตเอียง 45 องศาและกดให้พื้นไม้เอ็นจิเนียร์เข้าคลิก และตอกด้วยฆ้อยยางเบาๆเพื่อให้พื้นไม้เอ็นจิเนียร์เข้าคลิกล็อคสนิท ระหว่างแผ่นพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ต้องมีการหยอดกาวลาแท๊กซ์ระหว่างรอยต่อแผ่นทุกชิ้น ป้องกันการเคลื่อนตัวของพื้นไม้ ทำการต่อแผ่นพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ไปจนเต็มพื้นที่ติดตั้ง ตรวจสอบความเรียบร้อยในการปูพื้นไม้เอ็นจิเนียร์
7. นำลิ่มไม้ข้างผนังที่วางไว้ออก ทำการติดบัวPVCข้างผนังรอบพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ โดยปิดทับช่องว่างระหว่างพื้นไม้เอ็นจิเนียร์และผนัง เก็บความเรียบร้อยด้วยแดปหรือซิลิโคนสีเดียวกับพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ด้านล่างและด้านบนบัวPVC
8. ตรวจสอบความเรียบร้อยอีกครั้งและทำความสะอาด กรณีมีงานที่ต้องทำต่อจากงานติดตั้งพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ ให้ทำการProtectผิวหน้าด้วยกระดาษลูกฟูกกันรอยขีดข่วน
วิธีการติดตั้งพื้นไม้เอ็นจิเนียร์แบบยึดกาว PU
1. หลังการเตรียมพื้นเรียบร้อย ทำการตรวจระดับพื้นก่อนปูพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ การติดตั้งแบบยึดกาวPU ระดับพื้นต้องมีความต่างกันไม่เกิน 2 มิลลิเมตรต่อระยะ1 เมตร
2. ทำความสะอาดผิวหน้าพื้นซิเมนต์ขัดมัน กรณีมีฝุ่นที่ผิวหน้าจะทำให้การยึดติดระหว่างแผ่นพื้นเอ็นจิเนียร์กับพื้นชั้นล่างไม่ยึดติด
3. กำหนดรูปแบบและทิศทางการปูพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ โดยส่วนใหญ่จะกำหนดทิศทางการปูพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ให้เป็นแนวขนานประตู
4. การขึ้นแผ่นพื้นไม้เอ็นจิเนียร์แผ่นแรกในการติดตั้งตามทิศทางที่วางไว้ การติดตั้งพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ในบริเวณเฉพาะภายในห้อง ให้เริ่มติดตั้งพื้นไม้เอ็นจิเนียร์แผ่นแรกจากแนวประตูเป็นลำดับแรก ทำการตัดพื้นไม้เอ็นจิเนียร์เข้าระหว่างบังใบประตู โดยให้ขอบของพื้นไม้เอ็นจิเนียร์อยู่ตรงบังใบ เพื่อให้แผ่นพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ตรงประตูเป็นแผ่นเต็มไร้การต่อ พื้นไม้เอ็นจิเนียร์จะมีความแข็งแรงและความสวยงาม สำหรับการติดตั้งพื้นไม้เอ็นจิเนียร์สำหรับพื้นชั้นสอง ให้เริ่มปูพื้นพื้นไม้เอ็นจิเนียร์แผ่นแรกที่แนวบันไดติดกับลูกตั้งขั้นสุดท้าย โดยเว้นระยะห่างจากแนวลูกตั้งประมาณ 2-3 เซนติเมตรสำหรับติดตั้งตัวจบจมูกบันได
5. ทำการปูพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ตามทิศทางที่กำหนดไว้ เริ่มปูจากซ้ายไปขวาจนถึงผนังที่ระดับลิ่ม ระวังอย่าปูพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ชิดขอบผนังเพราะจะไม่มีช่องว่างให้พื้นไม้เอ็นจิเนียร์ขยายตัว
6. ติดตั้งพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ด้วยกาว PU ทุกแผ่น การต่อแผ่นพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ระบบคลิกล็อค โดยการวางแผ่นไม้ลามิเนตเอียง 45 องศาและกดให้พื้นไม้เอ็นจิเนียร์เข้าคลิก และตอกด้วยฆ้อยยางเบาๆเพื่อให้พื้นไม้เอ็นจิเนียร์เข้าคลิกล็อคสนิท ระหว่างแผ่นพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ต้องมีการหยอดกาวลาแท๊กซ์ระหว่างรอยต่อแผ่นทุกชิ้น ป้องกันการเคลื่อนตัวของพื้นไม้ ทำการต่อแผ่นพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ไปจนเต็มพื้นที่ติดตั้ง ตรวจสอบความเรียบร้อยในการปูพื้นไม้เอ็นจิเนียร์
7. นำลิ่มไม้ข้างผนังที่วางไว้ออก ทำการติดบัวPVCข้างผนังรอบพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ โดยปิดทับช่องว่างระหว่างพื้นไม้เอ็นจิเนียร์และผนัง เก็บความเรียบร้อยด้วยแดปหรือซิลิโคนสีเดียวกับพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ด้านล่างและด้านบนบัวPVC
8. ตรวจสอบความเรียบร้อยอีกครั้งและทำความสะอาด กรณีมีงานที่ต้องทำต่อจากงานติดตั้งพื้นไม้เอ็นจิเนียร์ ให้ทำการProtectผิวหน้าด้วยกระดาษลูกฟูกกันรอยขีดข่วน
ตอบโจทย์ด้านการออกแบบ การใช้งาน และงบประมาณที่กำหนดได้
Inspire BY FLOORD
093-185-8333, 089-850-4638 , ID LINE floord1